ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ปัญหาของ blog desktop application กับ wordpress

เมื่อวานนี้ (อาทิตย์ 12 ตค. 2551) มีความจำเป็นต้องเปิด blog เพิ่ม แต่เนื่องจากไม่ต้องการเพิ่มค่าใช้จ่าย เลยต้องหาทางเลือกด้วยการสมัคร host นอกแบบฟรี ซึ่งก็ได้ของถูกใจมา จะเป็น host แบบไหน อย่างไร จะให้ link บทความไว้ตอนท้ายครับ แต่ตอนนี้ มาว่า เรื่องที่เป็นปัญหาของผมกันก่อน


เนื่องจากในบ่ายวันนี้แทบทั้งช่วง ทำให้ผมปวดหัวแทบจะไปนอนหลับไม่ลงเลยทีเดียว


คือ ผมเพิ่งรู้ว่า ที่เขาพูดๆกันเรื่อง host นอก ช้ากว่า host ใน เนี่ย เฉพาะกรณีของ host ฟรี มันเป็นความจริงน่ะสิ โอย กว่าจะ upload ขึ้นไปได้ ก็แทบแย่ แล้วไหนจะต้อง setup blog software บนนั้นกันอีก กว่าจะได้ทั้งหมด กด Refresh (F5) กดแล้ว กดอีก กว่าจะได้มา ทำให้ผมสงสัยว่า อีกไม่นาน คงจะต้องใช้บริการ host แบบเสียตังกันล่ะ ไม่งั้น คงแย่แหงๆ เสียเวลารอ หรือไม่อย่างนั้น ผมคงต้องใช้มุขเดียวกันกับนักเล่นเกมออนไลน์เมื่อ 4-5 ปีก่อน คือ มานั่งโพส บทความตอนดึกๆถึงเช้าๆ เพราะเนตจะลื่นมากๆ


(ตกลงว่า เนต adsl เนี่ย มันก็เหมือนๆกันกับ net 56k modem หรอกเหรอเนี่ย ???? โอ้ย กรรมจริงๆ -*-')


เพื่อหาทางลดอาการเสียสุขภาพจิตแบบนั้น ผมเลยต้องหาตัวช่วย ต้องยอมรับเลยว่า ข้อมูล เรื่อง ตัวโปรแกรมช่วยเขียน blog ก่อนเอาไปส่งขึ้น blog จริงเนี่ย ทางต่างประเทศ ข้อมูลแน่นมากๆ หาเจอมาก็หลายตัว เอาเป็นว่า จะมารีวิวให้ฟังกันในวันหลังก็แล้วกันนะครับ


โปรแกรม blog ที่ผมเลือกใช้ใน host นอกแบบฟรี ตัวนี้ ก็คือ Wordpress นั่นเอง แน่นอนว่า ก่อนหน้านี้ ผมทดลองใช้งานมันมาแล้ว อย่างช่ำชองครับ แต่เป็นสนามซ้อมครับ พอเจอสนามจริงอย่างเมื่อตอนบ่ายวันอาทิตย์เข้า ก็ตายสนิทครับ ช่วยไม่ได้จริงๆเพราะระบบการใช้งาน แบบ remote computer กับ เล่นๆไปในเครื่องตัวเองนี่ มัน ไม่เหมือนกันเลยครับ แค่ระบบการเข้าถึงไฟล์ก็เอ๋อเหรอแล้ว เพราะเราต้องไปจัดการเอาเองว่า อันไหนให้เขียน-อ่านได้ทั้งหมด อันไหนกั๊กไว้ให้เฉพาะ admin ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีเรื่องของการ upload อีก และเรื่องอื่นๆอีกจิปาถะ ซึ่งถ้าเป็นเครื่องของตัวเองจะเล่นได้ตามใจชอบมากกว่า ไม่เหมือนกับการขึ้น host จริง ที่มีเงื่อนไขมากมาย แต่ก็พอคลำๆไปได้ครับ แต่ทุลักทุเลนิดหน่อยอ่ะ เหนื่อยจริงๆ -*-'


เฮ้อ ผมนอกเรื่องไปอีกแล้ว เอาล่ะๆ กลับมาๆ ที่จริงแล้วก็ยังหนีไม่พ้นเรื่องของ Wordpress อยู่ดี เพียงแต่คราวนี้ มันไปเกี่ยวข้องกับตัวช่วยของผมที่หาๆมาได้นั่นแหละ


ก็คือว่า ในตอนเริ่มแรก เพื่อจะใช้งานโปรแกรมน่ะ ก็ต้องมีการตั้งชื่อ Account ตั้ง username ตั้งรหัสผ่าน แต่ปรากฎว่า พอมาถึงขั้นตอนสุดท้าย มันไปไหนไม่ได้


Error ที่ขึ้นมา จะมีคำพูดคล้ายๆกันกับในรูปนี้ รูปนี้ไปหามาได้พร้อมๆกับคำตอบเหมือนกันครับ แปลกดี -*-'




testkk2_Error_Only




โชคดี ที่ผมลองหาคำตอบใน google แล้วก็เจอกับตัวปัญหา


ก็คือว่า ใน wordpress ตรงที่ให้เราตั้งค่าต่างๆทั่วไปน่ะ จะมีตัวเลือกอยู่ตัวหนึ่ง คือ การตั้งค่า ให้ เราสามารถ ส่ง post หรือจัดการเรื่อง post ต่างๆ ได้จากโปรแกรมภายนอก(ก็ตัวช่วยของผมนั่นแหละ) ซึ่งปกติ ในเครื่องของผมเองจะติ๊กมั่งไม่ติ๊กมั่ง ก็ไม่มีปัญหาอะไร ตามรูปนี้แหละครับ แต่ต้องเลือกหัวข้อ writing เสียก่อนล่ะ




Wp_XML_RPC_Setting_SM




แต่ว่า งานนี้ พอมาอยู่นอกบ้านแล้ว ซ่าไม่ออกครับ เพราะเจอปัญหาอย่างที่บอกไปแล้วตั้งแต่ต้น รวมถึงเรื่องของตัวช่วยนี้ด้วย คำตอบนี้ ผมได้จาก บอร์ด thaiseo ตามหัวข้อนี้




Blog edit software ที่ใช้กับ wordpress 2.6.2 ได้อะครับ



ซึ่งคำตอบในนั้น อันหนึ่งบอกว่า ให้ login เข้าไปติ๊กค่า xml-rpc ให้ทำงานเสียก่อน ถึงจะหายจาก error


เมื่อผมทำตามนั้นแล้ว ปรากฎว่า ผ่านฉลุยล่ะครับ เป็นอันว่า ติดตั้ง ตัวช่วยของผมให้ทำงานกับ free host ต่างประเทศได้แล้ว สำหรับบทความต่อๆไป ก็คงจะมาจาก ตัวช่วยของผมนี่แหละครับ ก็คอยติดตามกันต่อไปก็แล้วกัน ตอนนี้ ขอตัวไปพักผ่อนก่อนนะครับ ปวดหัวครับ -*-' สวัสดี.



ทิ้งท้าย Free host ต่างประเทศที่ผมทดลองใช้อยู่ ผมได้ข้อมูลมาจากที่นี่ครับ



http://free-host-mysql.blogspot.com/2008/06/000-web-host-free.html



เผื่อใครสนใจ อยากลองใช้บริการ ที่นี่ก็ตามแต่สะดวกครับ ^___^


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ฉันมาทำอะไรที่นี่ What’s a thing I do?

สวัสดีวันศุกร์ครับ ใครที่เห็นบทความเมื่อวานนี้(9 ตค. 2551) อย่าเพิ่งคิดว่า ผมจะมาเขียนบทความในแนวธรรมชาติ ภาพถ่ายล่ะ เพราะนั่น ไม่ใช่เรื่องที่ผมถนัดนะ ไม่งั้นก็สมัคร multiply ไปแล้ว(มีเพื่อนๆของผม เคยส่ง invite ให้ด้วยนะ ^_^) อย่างที่ผมบอกไว้ในหัวเรื่องด้านบน ผมมาทำอะไรที่นี่ คุณเคยไหมครับ ค้นหา google ตั้งนาน เป็นเวลาหลายๆชั่วโมง แต่ว่า ไม่พบกับเรื่องที่คุณคาใจอยู่เลย เคยไหมครับ ที่ตั้งใจหา หาตั้งนานแล้ว เอ่อ มีครับ แต่แค่ใกล้เคียง มันไม่ใช่คำตอบที่เราต้องการ เคยไหมครับ ที่หาตั้งนานแล้ว แต่มันไม่มีเนื้อหาในภาษาที่เราคุ้นเคย แต่ไปปรากฎในเนื้อหาภาษาอังกฤษแทน เคยไหมครับ ที่แม้ว่า เนื้อหาของเราที่ต้องการมีในภาษาอังกฤษแล้ว แต่ผลที่ได้ มันก็แค่ใกล้เคียง ไม่ตรงกับปัญหาที่เรามี นั่น คือ สภาพที่ผมเจอ เมื่อหลายปีก่อน หลายครั้งที่ผมเจอปัญหากับงาน แล้ว ไม่มีคำตอบที่ว่านั่น ใน google เลย สุดท้ายแล้ว ผมก็ต้องก้มหน้าก้มตา คิด และ ทำ เอาเอง ในที่สุด ผมคิดว่า ผมน่าจะนำผลที่ทำได้ มาใส่ไว้ในเวบไซต์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ก่อนที่มันจะสูญหายไปตามกาลเวลา เพื่อให้เป็นบ

Welcome To My Blog

สวัสดี ธรรมชาติ Hello The Nature !!! สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกคน สู่บ้านของผมบน internet สังคมบ้านเรา ทุกวันนี้ มองไปทางไหน ดูแล้วก็ไม่สบายใจ มีทั้งศึกนอก ศึกใน ตีกันมั่วไปหมด ไม่รู้จะทำยังไงเหมือนกัน ดีที่ผมเองทำงานอยู่บ้านนอก มีโอกาสเห็นธรรมชาติ ยิ่งเช้านี้ ฝนเพิ่งตกไปหมาดๆ ดูแล้วอากาศดีครับ ^__^ ว่าแล้ว ก็ขอหลบลี้ออกจากความวุ่นวายบ้าๆนั่น มาพักใจ รำลึกถึงอดีตและธรรมชาติกันจะดีกว่าครับ แดดทอรุ้ง รุ้งเลื่อมลาย พร่างพรายขอบฟ้า จับนภา งามหนักหนา พาใจภิรมย์..... (เป็นเพลงเก่าๆ ของวงพิงค์แพนเตอร์ครับ ชื่อเพลงว่า เพลิน ปัจจุบันนี้ คงหายากหน่อยล่ะครับ ^__^) ข้างล่างนี้ เป็นรูปรุ้งที่ผมเองเคยถ่ายเอาไว้ เมื่อเดือน สิงหาคม ที่ผ่านมานี่เองนะ

Pin Hole Projector D.I.Y. Ver.1

หลังจากที่ได้ดู clip จาก อินเตอร์เน็ต ถึง วิธีการสร้างอุปกรณ์สังเกตดวงอาทิตย์ผ่านหลักการกล้องรูเข็ม ดูแล้ว ไม่น่ายาก เลยลองหาของรอบๆตัวมาทำ ผลก็ตามภาพนั่นแหละ ให้ชื่อว่า กล่อง pinhole projector DIY วิธีการก็ง่ายๆ เอากระดาษขาวมารับภาพที่ด้านหนึ่ง เจาะรูดูมัน ส่วนอีกด้านหนึ่ง ก็ทำรูเจาะให้แสงอาทิตย์ผ่านเข้ามา จากนั้นก็เอาไปรับแสงอาทิตย์กัน แล้วความมหัศจรรย์ ก็จะบังเกิดขึ้นครับ คือ พระอาทิตย์บนฟ้าเป็นอย่างไร ในกล่องก็เป็นอย่างนั้น เพียงแต่จะกลับหัวครับ เพราะว่าเป็นไปตามหลักการของกล้องรูเข็ม ภาพที่รับได้บนฉากจะเป็นภาพจริงหัวกลับครับ ^___^ วิทยาศาสตร์ ใครว่ายาก อยู่ที่คุณจะใส่ใจ ทดลองทำมันหรือไม่ มากกว่า!!! ^^ เริ่มจากเจาะกล่องขนมด้านหนึ่งเป็นรูเล็กๆ ให้แสงอาทิตย์ส่องเข้ามาได้ ส่วนอีกด้านหนึ่ง เจาะรูเป็นช่องมอง พร้อมกับวางกระดาษขาวไว้เพื่อเป็นฉากรับภาพ อีกมุมหนึ่ง ให้เห็นถึงกระดาษขาวที่ถูกวางไว้ให้เป็นฉากรับภาพครับ ลักษณะของภาพ เมื่อนำไปรับแสงอาทิตย์ เราจะได้เป็นภาพของดวงอาทิตย์ ขนาดเล็กใหญ่ ขึ้นอยู่กับขนาดของรูที่เราเจาะเอาไว้ ภาพที่ได้ จะเป็นภาพจริงหัวกลับ ลักษณะอาทิตย์บ